First Western Hospital

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร

พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกัน พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของรถ ที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์หรือผู้ครอบครองรถในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถ และต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี นอกจากเป็นประกันภาคบังคับที่ผู้ใช้รถต้องทำอยู่แล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ ยังเป็น 1 ในหลักฐานที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปี ในกรณีที่ไม่ทำจะถือว่าทำผิดกฎหมาย

ใจความสำคัญของประกัน พ.ร.บ. ก็คือ ต้องการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิด หรือถูก หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้

นอกจากรถยนต์ที่ต้องทำและต่ออายุประกัน พ.ร.บ.ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก ต่างก็ต้องทำ พ.ร.บ. ด้วยด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับ จะเป็นอัตราเบี้ยคงที่ ไม่มีการเพิ่ม แต่ราคาจะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของรถ

ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.

  1. ผู้ประสบภัยจากรถ จะได้รับความคุ้มครอง หากได้รับความเสียหาย แก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ซึ่งผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันต้องรับผิดตามกฎหมายดังนี้
  • กรณี ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย  บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามความเสียหายที่แท้จริง  แต่ไม่เกิน80,000  บาทต่อหนึ่งคน
  • กรณี สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร  หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง   บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน200,000 – 500,000 บาทต่อหนึ่งคน(กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
  • กรณี เสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000  บาทต่อหนึ่งคน
  • กรณี ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล (คนไข้ใน) บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ200 บาท  (จำนวน รวมกันไม่เกิน 20 วัน)
  1. ค่าเสียหายเบื้องต้น บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้
  • กรณี ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามจำนวนที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน
  • กรณี ผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
  • กรณี ผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพ  ตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อหนึ่งคน(หากเกิดความเสียหาย หลายกรณี รวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อหนึ่งคน )

หมายเหตุ :กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน  จะได้รับความคุ้มครอง ไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

  1. การประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับ ผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัย ได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น เท่านั้น

ประกันภัย พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ หากได้รับความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ซึ่งเป็นความรับผิดของผู้ขับขี่ รถคันที่เอาประกันภัยบุคคลที่ได้รับความเสียหายนั้นจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทผู้รับประกันภัยที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายนั้นให้ผู้ถูกกระทำ สำหรับผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองเฉพาะ ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไข กรมธรรม์ ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล กรณีบาดเจ็บ คุ้มครองไม่เกิน 30,000.- บาท
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรหรือสูญเสียอวัยวะฯ คุ้มครอง 35,000.- บาท
  • ทั้งสองกรณีรวมกันคุ้มครองไม่เกิน 65,000.- บาท

หมายเหตุ : หากผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก ก็สามารถไปเรียกร้องเอาจากฝ่ายที่ต้องรับผิดได้

การเบิกประกัน พ.ร.บ.

  1. กรณีบาดเจ็บ เบิกค่ารักษาพยาบาล
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  3. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

หมายเหตุ : บริษัทอาจให้ผู้ประสบภัยแสดงหลักฐานแสดงการเกิดอุบัติเหตุจากรถ หรือประจำวันตำรวจแล้วแต่กรณีเนื่องจาก เงื่อนไขการประกันภัยนี้จะคุ้มครองผู้ประสบภัยที่เกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถคันที่มีประกันภัยไว้กับบริษัทเท่านั้น ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ต้องแจ้งเหตุให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หรือหากมีการกระทำให้มีผู้ประสบภัยจากรถแล้วเป็นความผิดทางอาญาต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยไม่ชักช้า

  1. กรณีเบิกค่าชดเชย นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน)
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  3. ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือใบสรุปหน้างบ หรือ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล

หมายเหตุ : กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน จะได้รับความคุ้มครอง ไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

  1. กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  3. ใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายเพราะประสบภัยจากรถ และหลักฐานรับรองแสดงถึงการสูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ
  4. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
  5. กรณีเสียชีวิต
  6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
  7. ใบมรณบัตร
  8. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
  9. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะประสบภัยจากรถ

หมายเหตุ : การจ่ายค่าเสียหาย ของบริษัทประกันภัย จะจ่ายให้กับตัวผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้น หากผู้เสียหายนั้น

ไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองได้ ก็สามารถมอบอำนาจให้กับบุคคลหนึ่ง บุคคลใดที่ท่านไว้วางใจให้มากระทำการแทนได้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และการจ่ายค่าเสียหายนั้นทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายเป็นเช็คชื่อผู้ประสบภัยที่แท้จริง เว้นแต่กรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะจ่ายเช็คให้กับทายาทโดยธรรมตามกฎหมายเท่านั้น

คำเตือน ผู้ใดยื่นขอรับค่าเสียหายโดยทุจริต หรือยื่นหลักฐานอันเป็นเท็จ มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  1. ผู้ประสบภัยจากรถหรือทายาท ของผู้ประสบภัยจากรถที่เสียชีวิต ที่ต้องการรับเงินค่าสินไหมทดแทน จาก บริษัทกลางฯด้วยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคาร ต้องทำอย่างไร?

ขอให้ ผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัยจากรถที่เสียชีวิต ติดต่อ บริษัทกลางฯ เพื่อแจ้งความประสงค์ ให้บริษัทดำเนินการการโอนเงินค่าสินไหมฯ เข้าบัญชีธนาคาร ของผู้ประสบภัยหรือ ทายาท ของผู้ประสบภัยจากรถที่เสียชีวิต

โดยเตรียมเอกสารดังนี้

  1. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ที่ผู้ประสบภัยหรือ ทายาทของผู้ประสบภัยจากรถที่เสียชีวิต เป็นเจ้าของบัญชีหรือภาพหลักฐานจาก Mobile Banking Application
  2. เตรียมเอกสารประกอบ การเบิกค่าสินไหมฯ และลงนามในเอกสารให้ครบถ้วนเมื่อบริษัทกลางฯได้รับเอกสารประกอบการเบิกครบถ้วนแล้ว จะดำเนินการโอนเงินค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประสบภัยหรือทายาทของผู้ประสบภัยจากรถที่เสียชีวิต ภายใน 7 วัน โดยจะส่ง SMS แจ้งวันที่โอนเงินให้ ผู้ประสบภัยจากรถทราบล่วงหน้าก่อน 1 วัน​
  3. เอกสารการเบิกค่าสินไหมทดแทนของทายาทผู้ประสบภัยที่เสียชีวิต

กรณีจดทะเบียนสมรส

ภรรยาเสียชีวิต

  1. สำเนาทะเบียนสมรส
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาท
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน
    4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้เสียชีวิต
    5. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต
    6. ใบมรณบัตร
    7. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
    8. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล(ถ้ามี)

และถ้ามีบุตร / บิดามารดา ของผู้ประสบภัยยังมีชีวิต เอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สูติบัตร ของบุตรทุกคน
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน
    3. หนังสือให้ความยินยอม
    4. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล(ถ้ามี)
    5. เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ของบิดา มารดา  
    6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีทายาทไม่ได้มาติดต่อด้วยตนเอง)
    – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • สามีเสียชีวิต 
  1. สำเนาทะเบียนสมรส
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาท
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน
    4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้เสียชีวิต
    5. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต
    6. ใบมรณบัตร
    7. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
    8. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล(ถ้ามี)

และถ้ามีบุตร / บิดามารดา ของผู้ประสบภัย ยังมีชีวิต เอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สูติบัตร ของบุตรทุกคน
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน
    3. หนังสือให้ความยินยอม
    4. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล(ถ้ามี)
    5. เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ของบิดา มารดา
    6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีทายาทไม่ได้มาติดต่อด้วยตนเอง)
    – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

กรณีไม่จดทะเบียนสมรส

  • ภรรยาเสียชีวิต (บิดา มารดายังมีชีวิต)
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนบิดา  มารดา
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน
    3. ใบมรณะบัตร
    4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้เสียชีวิต
    5. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต
    6. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
    7. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล(ถ้ามี)

และถ้ามีบุตร เอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สูติบัตร ของบุตรทุกคน
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน
    3. หนังสือให้ความยินยอม
    4. ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล(ถ้ามี)
    5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีทายาทไม่ได้มาติดต่อด้วยตนเอง)
    – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • สามีเสียชีวิต  (บิดา มารดายังมีชีวิต)
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนบิดา มารดา
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน
    3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้เสียชีวิต
    4. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต
    5. ใบมรณบัตร
    6. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
    7. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล(ถ้ามี)

และถ้ามีบุตร เอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สูติบัตร  ของบุตรทุกคน
    2. เอกสารจดรับรองบุตร / คำสั่งศาลให้เป็นบุตรโดยชอบ
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน
    4. ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
    5. หนังสือให้ความยินยอม
    6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีทายาทไม่ได้มาติดต่อด้วยตนเอง)
    7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ
  • กรณี บุตร เสียชีวิต   (บิดา-มารดา จดทะเบียนสมรส)
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้เสียชีวิต
    2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต
    3. ใบมรณบัตร
    4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของบิดา – มารดา  
    5. สำเนาทะเบียนสมรส
    6. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
    7. หนังสือให้ความยินยอม
    8. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีทายาทไม่ได้มาติดต่อด้วยตนเอง)
    9. สำเนาบัตรประชาชน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • กรณี บุตร เสียชีวิต (บิดา-มารดา ไม่จดทะเบียนสมรส)
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้เสียชีวิต
    2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เสียชีวิต
    3. ใบมรณบัตร
    4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน มารดา
    5. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
    6. หนังสือให้ความยินยอม
    7. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีทายาทไม่ได้มาติดต่อด้วยตนเอง)
    8. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

ทำอย่างไร? เมื่อประสบอุบัติเหตุจากรถ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save