First Western Hospital

Pre-Exposure Prophylaxis

  • เพร็พ (PrEP) คือ อะไร

       เพร็พ (PrEP) ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis คือยาที่ใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) ก่อนการสัมผัสโรค โดยการรับประทานยาวันละหนึ่งเม็ดทุกวัน เพร็พ (PrEP) ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ

  • สูตรยาที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
  1. TENO-EM (emtricitabine/tenofovir disoproxil fumarate)
  2. Descovy (emtricitabine/tenofovir alafenamide fumarate)
  • ความแตกต่างระหว่างยาทั้ง 2 สูตร
สรุปข้อมูลเปรียบเทียบยา 2 สูตร TENO-EM® Descovy®
ส่วนประกอบ
  • Emtricitabine 200 mg
  • Tenofovir disoproxil fumarate (TDF) 300 mg
  • Emtricitabine 200 mg
  • Tenofovir alafenamide fumarate (TAF) 25 mg
Tenofovir Prodrug Tenofovir disoproxil fumarate Tenofovir alafenamide fumarate
ผลต่อไตและกระดูกในระยะยาว (เกิน 2 ปี) มีผลต่อการทำงานของไตและมวลกระดูกมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ มีผลต่อการทำงานของไตและมวลกระดูกน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
ผลข้างเคียงของยา ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ค่าเอนไซม์ตับสูงขื้น ปวดหัว อ่อนเพลีย
อัตราการกดเชื้อไวรัส  (Viral suppression rate) ช้ากว่า เร็วกว่า
ปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ
  • ยาฆ่าเชื้อรา ได้แก่ Itaconazole, Ketonazole
  • ยากันชัก ได้แก่ carbamazepine, phenytoin, phenobarbital

 

  • เพร็พ (PrEP) เหมาะกับใคร

เพร็พ (PrEP) เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูง  ได้แก่

  • ชายที่มีเพศสัมพันธ์ชาย
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่มาขอรับบริการ Post-Exposure Prophylaxis (PEP) อยู่เป็นประจำโดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงลงได้
  • ผู้ที่ใช้สารเสพย์ติดชนิดฉีด
  • ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมาการเตรียมตัวก่อนเริ่มยาเพร็พ (PrEP)
  • เด็กอายุ 12ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัว 35 กิโลกรัมขึ้นไป
  • เพร็พ (PrEP) ป้องกันจากการติดเชื้อเอชไอวีได้มากแค่ไหน
  • เพร็พ (PrEP) สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เกือบ 100% หากผู้มารับบริการรับประทานทุกวัน และมีวินัยในการรับประทาน คือรับประทานในเวลาเดียวกันในทุกๆวัน และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
  • ข้อควรรู้เพิ่มเติมของการใช้ยาเพร็พ (PrEP)  
    • เมื่อตัดสินใจเริ่มยาควรปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติเกี่ยวกับอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประวัติการใช้ยาอื่น  ประวัติโรคไตและตับ และตรวจการตั้งครรภ์ในสตรี พร้อมทั้งตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และซิฟิลิส  
    • ผู้มารับบริการจะได้รับการตรวจเอชไอวี การทำงานของตับ (Liver function test) การทำงานของไต (serum creatinine) หลังจากที่ได้รับยาเพร็พ (PrEP) ครั้งแรกจะนัดตรวจเลือด 1 เดือน หลังจากนั้นนัดตรวจเลือดทุก 3 เดือน 
    • งดมีเพศสัมพันธ์ 2 สัปดาห์ก่อนมารับเพร็พ (PrEP) 
    • หากต้องการหยุดยาผู้มารับบริการต้องมาตรวจเลือดก่อนหยุดยาเพร็พ (PrEP) ทุกครั้ง

 

Social Media

Most Popular

Related Posts

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save