โรคขาดสารอาหาร

โรคขาดสารอาหาร เป็นภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา โดยอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย ผิวหนังมีลักษณะผิดปกติ กระดูกหยุดเจริญเติบโต หรือมีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น ซึ่งโรคขาดสารอาหารมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที อาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาการของโรคขาดสารอาหาร อาการของโรคนี้ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายขาดสารอาหารชนิดใด ซึ่งอาการโดยทั่วไปที่อาจสังเกตได้ มีดังนี้ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ผมร่วง ตัวซีด ง่วง อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ มีความอยากอาหารที่ผิดปกติ มีปัญหาในการย่อยอาหาร ซึ่งอาจทำให้ท้องผูก ประจำเดือนมาไม่ปกติ รู้สึกเสียวหรือชาที่ข้อต่อ ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย หดหู่ ซึมเศร้า มีปัญหาด้านการหายใจ ใจสั่น เป็นลมหมดสติ ติดเชื้อหรือเจ็บป่วยง่าย ป่วยแล้วหายช้ากว่าปกติ ผู้ป่วยเด็กอาจเจริญเติบโตช้า หรือมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งนี้ เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยบางรายอาจเคยชินกับอาการของโรคจนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ และไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม ดังนั้น หากมีอาการดังข้างต้น โดยเฉพาะอาการอ่อนเพลียหรือไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ เป็นเวลานาน ควรเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้ สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร […]
โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD)

โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD) เป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารไม่ว่าจะเป็นกรดหรือแก๊สกลับไปที่หลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้างโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้นหรือย้อนบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรค หรือหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณกรดที่ย้อนขึ้นไปไม่มากกว่าปกติ อาการของโรคกรดไหลย้อน อาการสำคัญที่พบบ่อยในโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว โรคกรดไหลย้อนยังก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ อาการทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และ ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานเคลื่อนตัวลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารปริมาณมากในหนึ่งมื้อ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ความเครียด โรคอ้วน ทำให้เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ […]
โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูกซึ่งอยู่บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส (Human Papillomavirus) หรือเอชพีวี (HPV) ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV เป็นครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามเชื้อ HPV อาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกเกิดความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ ในระยะแรกที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ แต่ในภายหลังเมื่อเริ่มเป็นหนักมากขึ้นร่างกายจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติ เช่น มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือตกขาวผิดปกติ และอาจมีอาการปวดร่วมด้วยได้ สายพันธุ์ต่างๆ ของเชื้อไวรัสนี้ มีชื่อเป็นหมายเลข ซึ่งแบ่งลำดับความเสี่ยง ดังนี้ HPV High Risk Type คือ 16 ,18 , 31 , 33 , 35 , 39 , 45 , 51 , 52 , 56 , […]
โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง และริดสีดวงจมูก

โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง และริดสีดวงจมูก คือ การที่เยื่อบุจมูกหรือไซนัสมีการอักเสบ และบวมมาก จนยื่นออกมาเป็นก้อน ทำให้โพรงจมูก และ / หรือไซนัส แคบริดสีดวงจมูกนี้เป็นก้อนเนื้อในโพรงจมูกที่พบได้บ่อย มีปัญหาเรื่องการเกิดกลับเป็นซ้ำสูง โรคร่วมที่พบได้บ่อย โรคหืดในผู้ใหญ่ชนิดที่เกิด และไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ ภาวะแพ้ยาแอสไพริน เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และชนิดไม่แพ้ อาการ คัดแน่นจมูก จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ น้ำมูก อาจมีทั้งใส ขุ่นข้น เหนียวหรือสีเขียวเหลือง การได้กลิ่นน้อยลง หรือไม่ได้กลิ่น มีอาการปวดตื้อบริเวณแก้ม สันจมูก หรือหน้าผาก ปวดมึนศรีษะ น้ำมูกไหลลงคอ เจ็บคอ หูอื้อ การรักษาผู้ป่วยที่มีไซนัสอักเสบเรื้อรังและริดสีดวงจมูก ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูก: ช่วยลดขนาดริดสีดวงจมูก และป้องกันไม่ให้ขนาดโตขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งไม่ตอบสนองต่อยา เนื่องจากยาไม่สามารถกระจายเข้าไปในโพรงจมูกได้เต็มที่เพราะมีริดสีดวงอุดอยู่ ยาสเตียรอยด์ชนิดกิน: สามารถใช้ได้ในระยะสั้น เพื่อลดขนาดริดสีดวงจมูก แต่ไม่สามารถทำให้ริดสีดวงจมูกหมดไปได้ ยาชีววัตถุ (biologic drugs) : ใช้ร่วมกับยาสเตียรอยด์พ่นหลังผ่าตัดไซนัส หรือในกรณีที่มีข้อห้ามในการผ่าตัดไซนัส สามารถลดขนาดริดสีดวงจมูก และการกลับเป็นซ้ำได้ การผ่าตัดริดสีดวงจมูกและไซนัสด้วยการใช้กล้อง (Endoscopic sinus surgery) […]
ไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever)

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติไปจนถึงเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สาเหตุของโรคไข้เลือดออก เชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4 นั้นมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรกก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก ทั้งนี้ ในแต่ละปีพบว่ามีการกระจายของเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์หมุนเวียนกัน และมีเชื้อที่เด่นแตกต่างกันไปในแต่ละปี ทำให้มีการระบาดของโรคมาโดยตลอด เนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ ปัจจัยเสี่ยงของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการดำเนินโรคที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เด็กทารกและผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างมีประจำเดือนหรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ผู้ที่มีโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย หรือโรคที่เกิดจากฮีโมโกลบินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจขาดเลือด ไตวาย ตับแข็ง ผู้ที่รับประทานยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ […]
ป่วยฉุกเฉินโทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)

ป่วยฉุกเฉินโทรแจ้งสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) ข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้งสายด่วน 1669 นั้น มีหลักสำคัญอยู่ 9 ข้อ คือ เมื่อพบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ตั้งสติและโทรแจ้งสายด่วน 1669 ให้ข้อมูลว่าเกิดเหตุอะไรมีผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในลักษณะใด บอกสถานที่เกิดเหตุเส้นทางจุดเกิดเหตุให้ชัดเจน บอกเพศ ช่วงอายุ อาการจำนวนผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย บอกความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้ำ เช่นอยู่กลางถนนหรือรถติดแก๊ส บอกชื่อผู้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ ช่วยเหลือเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ รอทีมกู้ชีพมารับผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สิ่งสำคัญที่สุด คือระบบของการให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น ที่จะต้องมีกระบวนการที่ทำให้เจ้าหน้าที่รับเหตุสามารถประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนให้การช่วยเหลือได้ ด้วยเพราะเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ และอาจไม่สามารถประเมินอาการของผู้ป่วยได้ การแจ้งข้อมูลเบื้องต้นของท่านๆ คือการช่วยเหลือขั้นแรกที่สำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดและปลอดภัยมากขึ้น !!!! สพฉ. แนะข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้งสายด่วน 1669 สพฉ. แนะข้อควรรู้ก่อนโทรแจ้งสายด่วน 1669 เผยผู้โทรแจ้งต้องตั้ง ย้ำเป็นสายด่วนที่ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตินอกสถานพยาบาล สายด่วน 1669 เป็นสายด่วนฉุกเฉินที่หลายๆ คนคุ้นเคย หากมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้นมา ก็สามารถโทรแจ้งได้ทันที ซึ่งตามหลักของการทำงานของสายด่วน1669 นั้นเมื่อมีประชาชนโทรเข้ามาเพื่อ เจ้าหน้าที่จะประเมินอาการว่า เข้าข่ายอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ เข้าข่ายอาการแบบไหน ก่อนส่งทีมผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินเข้าช่วยเหลือ ซึ่งปกติแล้วจะแบ่งระดับความฉุกเฉินออกเป็น […]